ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กลุ่มเกสตัลท์(Gestalt)



ความเป็นมาของกลุ่มเกสตัลท์
กลุ่มเกสตัลท์ (GESTALT  PSYCHOLOGY) เกิดในประเทศเยอรมันในราวปี ค..๑๙๑๒ คำว่า GESTALT  เป็นภาษาเยอรมันแปลว่า โครงรูปแห่งการรวมหน่วย”  หรือ TOTALITY หรือ SEE AS A WHOLE  ผู้นำของกลุ่มนี้คือ MAX WERTHEIMER (..๑๘๘๐ - ๑๙๔๓)  KURT KOFFKA (..๑๘๘๖ - ๑๙๔๑) และ WOLFGANG KOHLER (..๑๘๗๗) ภายหลังบุคคลเหล่านี้ได้อพยพไปอยู่ในอเมริกา แนวความคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้คือ การพิจารณาพฤติกรรมหรือประสบการณ์ของคนเป็นส่วนรวม ซึ่งส่วนรวมนั้นมีค่ามากกว่าผลบวกของส่วนย่อย ต่าง ๆ มารวมกัน เช่นคนนั้นมีค่ามากกว่าผลบวกของส่วนย่อย ต่างๆ  มารวมตัวกันเป็นคนได้แก่ แขน ขา ลำตัว สมอง ฯลฯ จิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์นิยมจึงหมายถึงจิตวิทยาที่ยึดถือเอาส่วนรวมทั้งหมดเป็นสำคัญ  นักจิตวิทยากลุ่มนี้ยังมีความเห็นอีกว่า การศึกษาทางจิตวิทยานั้นจะต้องศึกษาพฤติกรรมทางจิตเป็นส่วนรวมจะแยกศึกษาที่ละส่วนไม่ได้ กลุ่ม GESTALISM  เห็นว่าวิธีการของ BEHAVIORISM ที่พยายามจะแยกพฤติกรรมออกมาเป็นหน่วยย่อย เช่น เป็นสิ่งเร้าและการตอบสนองนั้นเป็นวิธีการไม่ใช่เรื่องของจิตวิทยา น่าจะเป็นเรื่องของเคมีหรือศาสตร์บริสุทธิ์แขนงอื่นๆ ดังนั้นกลุ่ม   GESTALISM  จึงไม่พยายามแยกพฤติกรรมออกเป็นส่วนๆ แล้วศึกษารายละเอียดของแต่ละส่วนเหมือนกลุ่มอื่นๆ  แต่ตรงกันข้ามจะพิจารณาพฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์ทุกๆ อย่างเป็นส่วนรวม  เน้นในเรื่องส่วนรวม (WHOLE)มากกว่าส่วนย่อย เพ่งเล็งถึงส่วนทั้งหมดในลักษณะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (UNIQUE)
แมกซ์ เวไธเมอร์ (Max Wertheimer,1912) นักจิตวิทยาชาวเยอรมันศึกษาและทดลอง เกี่ยวกับเกสตัสท์ (Gestalt) มีแนวความคิดเชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์คิดถึงส่วนรวมก่อนคิดถึงส่วนย่อย ๆพฤติกรรมของบุคคลจะต้องเป็นรูปของส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย ๆการศึกษาบุคคล จะต้องศึกษาพฤติกรรมส่วนรวมมีความสำคัญมากกว่าพฤติกรรมส่วนย่อยๆแต่ละอย่างที่ประกอบเข้ารวมกันนอกจากนั้นการศึกษาจิตต้องศึกษาจิตเป็นส่วนรวมกันนอกจากนั้นการศึกษาจิตต้องศึกษาจิต เป็นส่วนรวม มิใช่ ยกจิตแบ่งออกเป็นส่วนประกอบย่อย
  
 ความหมายของกลุ่มเกสตัลท์(Gestalt)
        แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์ บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้

                กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ เกิดขึ้นในระยะใกล้เคียงกับกลุ่มพฤติกรรมนิยม ผู้นำกลุ่มได้แก่ แมกซ์ เวอร์ ไธเมอร์ (Max Wertheimer) และผู้ร่วมกลุ่มอีก 3 คน คือ เคอร์ท เลอวิน (Kurt Lewin) , เคอร์ท คอฟพ์กา (Kurt Koffka) และวอล์ฟแกง โคเลอร์ (Wolfgang Kohler) ซึ่งเป็นชาวเยอรมัน

                คำว่า เกสตัลท์ (Gestalt) เป็นภาษาเยอรมันซึ่งวงการจิตวิทยาได้แปลความหมายไว้เดิมแปลว่า แบบหรือรูปร่าง (Gestalt = form or Pattern) ต่อมาปัจจุบันแปล เกสตัลท์ว่า เป็นส่วนรวมหรือส่วนประกอบทั้งหมด (Gestalt =The wholeness)

                กลุ่มนี้มีแนวคิดว่า การเรียนรู้เกิดได้จากการจัดสิ่งเร้าต่าง ๆ มารวมกันเริ่มต้นด้วยการ รับรู้โดยส่วนรวมก่อนแล้ว จึงจะสามารถวิเคราะห์เรื่องการเรียนรู้ส่วนย่อยทีละส่วนต่อไป

                ต่อมา เลอวิน ได้นำเอาทฤษฎี เกสตัลท์ มาปรับปรุงเป็นทฤษฎีสนาม (Field theory) โดยนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ และฟิสิกส์มาอธิบายทฤษฎีของเขา (นักศึกษาจะได้ทราบรายละเอียดในบทต่อ ๆ ไปซึ่งจะอยู่ในเรื่องของทฤษฎีการเรียนรู้) แต่ก็ยังคงใช้หลักการเดียวกัน นั่นคือการเรียนรู้ของบุคคลจะเป็น ไปได้ด้วยดีและสร้างสรรค์ถ้าเขาได้มีโอกาสเห็นภาพรวม ทั้งหมดของสิ่งที่จะเรียนเสียก่อนเมื่อเกิดภาพ รวมทั้งหมดแล้วก็เป็นการง่ายที่บุคคลนั้นจะเรียนสิ่งที่ละเอียดปลีกย่อย ต่อไป

                ปัจจุบันได้มีผู้นำเอาวิธีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์มาใช้อย่างกว้างขวางโดยเหตุที่เขา เชื่อในผลการศึกษาค้นคว้าที่ พบว่า ถ้าให้เยาวชนได้เรียนรู้โดยหลักของเกสตัลท์แล้ว เขาเหล่านั้นจะมีสติปัญญา และความคิดสร้างสรรค์และความรวด เร็วในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น

หลักการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์

                กลุ่มเกสตัลท์กล่าวว่า การเรียนรู้ที่เห็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยนั้นจะต้องเกิด จากประสบการณ์เดิม และการเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้น 2 ลักษณะคือ 

1. การรับรู้ (Perception) 
                การรับรู้หมายถึงการแปลความหมายหรือการตีความต่อสิ่งเร้าของ อวัยวะรับสัมผัสส่วน ใดส่วนหนึ่งหรือทั้งห้าส่วน ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวหนัง และการตีความนี้ มักอาศัย ประสบการณ์เดิมดังนั้น แต่ละคน อาจรับรู้ในสิ่งเร้าเดียวกันแตกต่างกันได้ แล้วแต่ประสบการณ์ เช่น นางสาว ก. เห็นสีแดง แล้วนึกถึงเลือดแต่นางสาว ข. เห็นสีแดงอาจนึกถึงดอกกุหลาบสีแดงก็ได้ 

                การเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ ที่เน้น"การรับรู้เป็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย" นั้น ได้สรุปเป็นกฎการเรียนรู้ของ ทั้งกลุ่ม ออกเป็น 6 กฎ เรียกว่ากฎการจัดระเบียบเข้าด้วยกัน (The Laws of Organization) ดังนี้

1. กฏแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน (Law of Pragnanz)
2. กฏแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity)
3. กฏแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity)
4. กฏแห่งการสิ้นสุด(Law of Closure)
5. กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Continuity) สิ่งเร้าที่มีทิศทางในแนวเดียวกัน ซึ่งผู้เรียนจะรับรู้ว่เป็นพวกเดียวกัน
6. กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closer) สิ่งเร้าที่ขาดหายไปผู้เรียนสามารถรับรู้ให้เป็นภาพสมบูรณ์ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิม
                1.  กฏแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน (Law of Pragnanz) 
                                ซึ่งกล่าวว่าเมื่อต้องการให้มนุษย์เกิดการรับรู้ ในสิ่งเดียวกัน ต้องกำหนดองค์ประกอบขึ้น 2 ส่วน คือ

  • ภาพหรือข้อมูลที่ต้องการให้สนใจ เพื่อเกิดการเรียนรู้ในขณะนั้น (Figure)
  • ส่วนประกอบหรือพื้นฐานของการรับรู้ (Background or Ground) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ประกอบอยู่ในการเรียนรู้ นั้น ๆ แต่ผู้สอนยังมิต้องการให้ผู้เรียนสนใจในขณะนั้น ปรากฏว่า วิธีการแก้ปัญหา โดยกำหนด Figure และ Background ของเกสตัลท์ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เพราะสามารถทำ ให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ด้วยการรับรู้อย่างเดียวกันได้ ซึ่งนักศึกษาจะได้ ทราบรายละเอียดในเรื่องทฤษฎีการเรียน รู้ของกลุ่มเกสตัลท์ในโอกาสต่อไป แต่ในที่นี้ขอเสนอพอสังเขป ดังนี้
บางครั้ง Figure อาจเปลี่ยนเป็น Ground และ Ground อาจเปลี่ยนเป็น Figure ก็ได้ ถ้าผู้สอนหรือผู้นำเสนอ เปลี่ยนสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียน หรือกลุ่มเป้าหมายเบนความสนใจไปตามที่ตนต้องการ โปรดดูภาพต่อไปนี้

http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/image2555/292.jpg

ดูภาพซ้ายมือนี้ นักศึกษาเห็นว่าเป็นนางฟ้า หรือว่า ปีศาจ 
ถ้ามองสีดำเป็นภาพสีขาวเป็นพื้น จะเห็นเป็นรูปอะไร 
แต่ถ้ามองสีสีขาวเป็นภาพสีดำ เป็นพื้น จะเห็นเป็นรูปอะไร ลองพิจารณาดู


http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/image2555/293.jpg

ดูภาพซ้ายมือนี้ นักศึกษาเห็นว่าเป็นรูปพานหรือว่าเป็นรูปคน 2 คนหันหน้าเข้าหากัน 
ถ้าดูสีขาวเป็นภาพ สีดำเป็นพื้นก็จะเป็นรูปพาน ถ้าดูสีดำเป็นภาพ สีขาวเป็นพื้น 
ก็อาจจะเห็นเป็นรูปคน 2 คน หันหน้าเข้าหากัน ต่อไปลองพิจารณารูป 2 รูป ข้างล่างนี้ดูซิ

http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/image2555/294.jpg
ดูภาพซ้ายมือนี้อีกที ก็คงมีความรู้สึก เช่นเดียวกับรูปที่ผ่านมา
คืออาจจะเป็นรูปคน 2 คนหันหน้าเข้าหากัน หรือรูปพาน
แต่ถ้าดูรูปขวามือนี้มาก่อน ก็คงไม่มีใครที่จะเห็นว่ารูปซ้ายมือเป็นรูปพาน 
คงจะตอบว่าเป็นรูปคน 2 คน หันหน้าเข้าหากัน 

http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/image2555/295.jpg


ดูภาพซ้ายมือนี่ซิ ว่าเป็นหญิงชรา 
หรือว่าหญิงสาวหลายคนบอกว่าเป็นได้ทั้งสองอย่าง

http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/image2555/296.jpg

จะเห็นได้ว่า ภาพเดียวกัน คนบางคนยังเห็นไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์เดิมของแต่ละคน อิทธิพลของประสบการณ์ที่มีต่อการรับรู้ภาพและพื้น การมองเห็นรูป เป็นภาพ (Figure) และพื้น (Ground) สลับกันนั้นตามทฤษฎี ของกลุ่ม เกสตัลท์ เชื่อว่า การรับรู้ในลักษณะเช่นนี้ ขึ้นยู่กับประสบการณ์ ของบุคคลเป็นสำคัญ หรือ ประสบการณ์เดิมของบุคคล มีผลต่อการรับรู้ ภาพและพื้น หรือภาพสองนัย 

เรื่องนี้ มีงานวิจัยที่น่าสนใจคือ งานวิจัยของ ลีเปอร์ ซึ่ง ลีเปอร์(Leeper. 1935) ได้ทดลองเกี่ยวกับอิทธิพลของประสบการณ์ของบุคคลที่มีต่อ ภาพสองนัย โดยทดลองกับนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นภาพ 3 ภาพ คือ

http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/image2555/297.jpg
การทดลองของ ลีเปอร์(Leeper. 1935)

http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/image2555/298.jpg
ภาพ A เป็นภาพสองนัย 
ภาพ B เป็นภาพหญิงสาว 
ภาพ C เป็นภาพหญิงชรา

ลีเปอร์ ได้แบ่งนักศึกษาออกเป็น 3 กลุ่ม
  • กลุ่มที่ 1 ให้ดูภาพ A เป็นเวลา 25 วินาที
  • กลุ่มที่ 2 ให้ดูภาพ C เป็นเวลา 30 วินาที และให้ดูภาพ A ต่อ อีก 15 วินาที
  • กลุ่มที่ 3 ให้ดูภาพ B เป็นเวลา 30 วินาที แล้วให้ดูภาพ A ต่อ อีก 15 วินาที
ผลการทดลอง 

กลุ่มที่ 1 ที่ให้ดูเฉพาะภาพ A(ภาพสองนัย) ภาพเดียว เป็นเวลา 25 วินาที 
มีนักศึกษาบอกว่าเป็นภาพหญิงสาว 60 % 
มีนักศึกษาบอกว่าเป็นภาพหญิงชรา 40 %

กลุ่มที่ 2 ที่ให้ดูภาพ C (หญิงชรา) ก่อน เป็นเวลา 30 วินาที แล้วจึงให้ดูภาพ A 
(ภาพสองนัย) ต่ออีกเป็นเวลา 15 วินาที 
มีนักศึกษาเห็นภาพ A เป็นหญิงชรา 95 % 
มีนักศึกษาเห็นภาพ A เป็นหญิงสาว 5 %

กลุ่มที่ 3 ที่ให้ดูภาพ B (หญิงสาว) ก่อน เป็นเวลา 30 วินาที แล้วจึงให้ดูภาพ A 
(ภาพสองนัย) ต่ออีกเป็นเวลา 15 วินาที 
มีนักศึกษาเห็นภาพ A เป็นหญิงสาว 100 % 
มีนักศึกษาเห็นภาพ A เป็นหญิงชรา 0 % 

                2. กฏแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity)
                                กฎนี้เป็นกฎที่ Max Wertheimer ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1923 โดยใช้เป็นหลักการในการวางรูปกลุ่มของการรับรู้ เช่น กลุ่มของ เส้น หรือสี ที่คล้ายคลึงกัน หมายถึงสิ่งเร้าใด ๆ ก็ตาม ที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสี ที่คล้ายกัน คนเราจะรับรู้ว่า เป็นสิ่งเดียวกัน หรือพวกเดียวกัน 

http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/image2555/299.jpg
จากภาพข้างบนนี้ เราจะเห็นว่า รูปสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ แต่ละรูป ที่มีสีเข้ม เป็นพวกเดียวกัน

                3. กฏแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity) 
                                สาระสำคัญของกฎนี้ มีอยู่ว่า ถ้าสิ่งใด หรือสถานการณ์ใดที่เกิดขึ้นในเวลาต่อเนื่องกัน หรือในเวลาเดียวกัน อินทรีย์จะเรียนรู้ ว่า เป็นเหตุและผลกัน หรือ สิ่งเร้าใดๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกัน มนุษย์มีแนวโน้มที่จะรับรู้ สิ่งต่างๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกันเป็นพวกเดียวกัน หมวดหมู่เดียวกัน 

http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/image2555/300.jpg
จากภาพข้างบนนี้ เราจะเห็นว่ามีทหารเป็น 5 Columns 
(Proximity : These forty soldiers are seen as five columns because of spacing) 

                4. กฏแห่งการสิ้นสุด (Law of Closure) 
                                สาระสำคัญของกฎนี้มีอยู่ว่า "แม้ว่าสถานการณ์หรือปัญหายังไม่สมบูรณ์ อินทรีย์ก็จะเกิดการเรียนรู้ ได้จากประสบการณ์เดิมต่อสถานการณ์นั้น" 

ลองดูภาพต่อไปนี้ แล้วลองพิจารณาดูว่า ถึงแม้เส้นต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องลากไปจนสุด หรือบรรจบกัน แต่เมื่อสายตามองก็พอจะเดาได้ว่า น่าจะเป็นรูปอะไร 

http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/image2555/301.jpg

ภาพต่อไปนี้ก็เช่นกัน แม้จะไม่ใช่ภาพที่เขียนขึ้นอย่างสมบูรณ์ 
แต่คนที่มีประสบการณ์เดิม ก็พอจะรู้ว่า เป็นภาพ สุนัข 
http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/image2555/302.jpg

                5. กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Continuity) 
                                สิ่งเร้าที่มีทิศทางในแนวเดียวกัน ซึ่งผู้เรียนจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน 

                6. กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closer) 
                                สิ่งเร้าที่ขาดหายไปผู้เรียนสามารถรับรู้ให้เป็นภาพสมบูรณ์ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิม

2. การหยั่งเห็น (Insight)
                การหยั่งเห็น   หมายถึง การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนเกิดการชำนาญ  การเกิดความคิดแวบขึ้นมาทันทีทันใด ในขณะที่ประสบปัญหาโดยมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาตั้งแต่เริ่มแรกเป็นขั้นตอนจนสามารถแก้ปัญหาได้ เป็นการมองเห็นสถานการณ์ในแนวทางใหม่ ๆ ขึ้น โดยเกิดจากความเข้าใจและความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์ว่าได้ยินได้ค้นพบแล้ว ผู้เรียนจะมองเห็นช่องทางการแก้ปัญหาขึ้นได้ในทันทีทันใด

การทดลองกลุ่มเกสตัลท์
            เพื่อที่จะได้เข้าใจวิธีการแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้เกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยการหยั่งเห็น ซึ่งจะยกตัวอย่างการทดลองของโคล์เลอร์ ระหว่างปี ค.ศ. 1913-1917 ซึ่งทดลองกับลิงชิมแปนซี ซึ่งการทดลองครั้งแรกเป็นการทดลองในเยอรมัน แต่ต่อมาเข้าได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่อเมริกาการทดลองส่วนใหญ่ระยะหลังจึงเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการในประเทศอเมริก

ขั้นตอนการทดลอง
            การทดลองของเขาครั้งแรกมีจุดประสงค์เพราะไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ที่กล่าว สัตว์โลกทั่วไปทำอะไรไม่มีแบบแผนหรือระเบียบวิธีใด ๆ การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นการเดาสุ่มหรือการลองถูกลองผิด โดยมีการเสริมกำลังเป็นรางวัล เช่น อาหารเป็นแรงจูงใจที่ผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ โดยไม่มีกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้ปัญญา  
          โคลเลอร์ได้สังเกตและศึกษาเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ เพราะมีความเชื่อว่าในสถานการณ์หนึ่ง ถ้ามีเครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์ในการแก้ปัญหาและปฏิบัติการพร้อม สัตว์และคนสามารถแก้ปัญหาได้โดยการหยั่งเห็นโดยการมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ เมือสัตว์ได้เรียนรู้การแก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นและเห็นช่องทางในสิ่งนั้นได้แล้ว การกระทำครั้งต่อไปจะสามารถแก้ปัญหาพฤติกรรมที่ยากขึ้นไปเรื่อย ๆ และสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
            โคลเลอร์ได้ทดลองโดยการขังลิงชิมแปนซี ตัวหนึ่งไว้ในกรงที่ใหญ่พอที่ลิงจะอยู่ได้ภายในกรงมีไม้หลายท่อน มีลักษณะสั้นยาวต่างกันวางอยู่ นอกกรมเขาได้แขวนกล้วยไว้หวีหนึ่งเกินกว่าที่ลิงจะเอื้อมหยิบได้การใช้ท่อนไม้เหล่านั้น บางท่อนก็สั้นเกินไปสอยกล้วยไม่ถึงเหมือนกัน มีบางท่อนยาวพอที่จะสอยได้ ในขั้นแรกลิงขิมแพนซีพยายามใช้มือเอื้อมหยิบกล้วยแต่ไม่สำเร็จแม้ว่าจะได้ลองทำหลายครั้งเป็นเวลานานมันก็หันไปมองรอบรอบกรง เขย่ากรง ส่งเสียงร้อง ปีนป่ายและทำทุกอย่างที่จะช่วยให้ได้กินกล้วย แต่เมื่อไม่ได้ผลไม่สามารถแก้ปัญหาได้มันหันมาลองจับไม้เล่นแบะใช้ไม้นั้นสอยกล้วยแต่เมื่อไม่ได้ผล ไมสามารถจะแก้ปัญหาได้ มันหันมาลองจับไม้อันอื่นเล่น และใช้ไม้นั้นสอยกล้วย การกระทำเกิดขึ้นเร็วและสมบูรณ์ ไม่ได้ค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้า ๆ เลยในที่สุดมันก็สามารถใช้ไม้สอยกล้วยมากินได้  วิธีการที่ลิงใช้แก้ปัญหานี้ โคล์เลอร์เรียกพฤติกรรมนี้ว่าเป็นการหยั่งเห็น เป็นการมองเห็นช่องทางในการแก้ปัญหาโดยลิงชิมแพนซีได้มีการรับรู้ในความสัมพันธ์ระหว่างไม้สอย กล้วยที่แขวนอยู่ข้างนอกกรงและสามารถใช้ไม้นั้นสอยกล้วยได้เป็นการนำไปสู่เป้าหมาย 

 กระบวนการแก้ปัญหาของลิงชิมแพนซีมีดังนี้
            1. วิธีการแก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นจะเกิดขึ้นทันทีทันใดเหมือนความกระจ่างแจ้งในใจ
            2. การเรียนรู้การหยั่งเห็นเป็นการที่ผู้เรียนมองเห็นรับรู้ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ ไม่ใช่เป็นการตอบสนองของสิ่งเร้าเพียงอย่างเดียว
            3. ความรู้เดิมของผู้เรียน ประสบการณ์ของผู้เรียนมีส่วนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการหยั่งเห็นในเหตุการณ์ที่ประกอบขึ้นเป็นปัญหาและช่วยให้ การหยั่งเห็นเกิดขึ้นเร็ว

การนำทฤษฎีประยุกต์ในการเรียนการสอน
            การนำทฤษฎีประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน นักจิตวิทยากลุ่มนี้คิดว่า ในการเรียนรู้ของคนเราเป็นการเรียนรู้ด้วยการหยั่งเห็นซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และคิดได้ว่าอะไรเป็นอย่างไร ปัญหาก็แจ่มชัดขึ้นเอง เนื่องจากการเห็นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ ของปัญหามีหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ด้วยการหยั่งเห็นดังนี้
            1. การหยั่งเห็นจะขึ้นอยู่กับการจัดสภาพที่เป็นปัญหา ประสบการณ์เดิมแม้จะมีความหมายต่อการเรียนรู้ แต่การหยั่งเห็นนั้นให้เป็นระเบียบ และสามารถจัดส่วนของสถานการณ์นั้นให้เป็นระเบียบ มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
            2. เมื่อสามารถแก้ปัญหาได้ครึ่งหนึ่ง คราวต่อไปเมื่อเกิดปัญหาขึ้นอีกผู้เรียนก็จะสามารถนำวิธีการนั้นมาใช้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาคิดพิจารณาใหม่
            3. เมื่อค้นพบลู่ทางในการแก้ปัญหาครั้งก่อนแล้วก็อาจนำมาดัดแปลงใช้กับสถานการณ์ใหม่ และรู้จักการมองปัญหา เป็นส่วนเป็นตอนและเรียนรู้ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ได้อาจนำไปใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรม คือ การเน้นให้บุคคลได้มีเสรีภาพ เลือกวิถีชีวิตตามความต้องการและความสนใจ ให้เสรีภาพในการคิด การทำเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นให้บุคคลมองบวกในตน ยอมรับตนเอง และนำส่วนดีในตนเองมาใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ รักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเอง สร้างสรรค์สิ่งดีให้ตนเอง ซึ่งเป็นฐานทางใจให้มองบวกในคนอื่น ยอมรับคนอื่นและสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้แก่ผู้อื่นและสังคม กับทั้งมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมด้วย
  
 สรุป
            หลักความเชื่อของเกสตัลท์ดังกล่าว มีความทันสมัยและเป็นที่ยอมรับมากในปัจจุบันสำหรับในประเทศไทยของเราเองได้มีการตื่นตัวกันมากที่จะนำแนวคิดนี้มาสู่การพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อแก้ปัญหาสังคมในบ้านเมืองเราขณะนี้ โดยนักการศึกษาส่วนหนึ่งมีความเชื่อว่า หากเรามีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพสูง แม้จะเผชิญกับความยุ่งยากในการนำทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ มาใช้ประโยชน์ แม้มีอุปสรรคมากมายต่อการพัฒนาประเทศ แต่ประชากรที่มีคุณภาพน่าจะฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ด้วยวิริยะอุตสาหะ ด้วยความหาญฉลาดแห่งปัญญา และด้วยคุณธรรมความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม ซึ่งกลุ่มมนุษย์นิยมเชื่อว่า ถ้าเด็กถูกเลี้ยงในบรรยากาศของความรักความอบอุ่น เขาจะมีความรู้สึกมั่งคงปลอดภัย และจะเจริญเติบโตเป็นผู้เป็นผู้ใหญ่ที่มองโลกในแง่ดี มีน้ำใจให้คนอื่น ถ้าเด็กถูกเลี้ยงให้รู้จักช่วยตัวเองตามวัย ตามความถนัด ความสนใจ และตามบทบาทหน้าที่ภายใต้การให้กำลังใจจากผู้ใหญ่ เด็กนั้นจะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ในสังคมกลุ่มมนุษย์นิยมมีความเชื่อว่าการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของคนเรานั้นจะทำได้โดยให้คนมองเห็นส่วนดีในตนเอง และเกิดแรงจูงใจในการนำส่วนดีมาใช้ประโยชน์ ให้รู้จักวางแผนชีวิตและสร้างพลังใจให้ดำเนินชีวิตไปตามแผน ให้ได้มีโอกาสศึกษาตนเองในแง่มุมต่าง ๆ และให้ได้แนวทางในการเรียนรู้บุคคลอื่น ๆ ที่แวดล้อมตนเพื่อปรับตนในการอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างได้ประสิทธิภาพ เกิดการยอมรับตนเอง ยอมรับคนอื่น เมื่อยอมรับตนเองก็เกิดความเชื่อมั่น ปฏิบัติตนเป็นธรรมชาติ ลดความก้าวร้าว และความเก็บกดลงไปได้ เมื่อยอมรับคนอื่นก็จะทำให้มองโลกในแง่ดี ทำให้อยู่ร่วมกันโดยสันติสุข 
  
  
อ้างอิง
               
                Em-orn Charoenporn ,2552,ทฤษฎีการเรียนรู้ของเกสตัลท์,ออนไลน์,สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต, http://www.learners.in.th/blogs/posts/339661 , ค้นเมื่อ 22 มิถุนายน  2556.
                somphol  kananukroh ,2552,ทฤษฎีการเรียนรู้ของKohler,ออนไลน์,สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต, http://www.learners.in.th/blogs/posts/292672ค้นเมื่อ 21 มิถุนายน  2556.

                นันทวัฒน์ บุญไธสง,2543,ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory) ,ออนไลน์,สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต, http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-2/gestalt_theory/index.html , ค้นเมื่อ 23 มิถุนายน  2556.

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

20 กันยายน วันเยาวชนแห่งชาติ

 
 

      ระหว่างความเป็นเด็กและผู้ใหญ่ มีพื้นที่เล็กๆของการเป็นเยาวชนแทรกตัวอยู่ เมื่อพ้นจากวันแห่งวัยเด็ก มาสู่" วันเยาวชนแห่งชาติ " ด้วยจังหวะแห่งการเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ ทำให้อยู่ในความสนใจที่ควรให้ความสำคัญอย่างไม่แพ้กัน
วันเยาวชนเเห่งชาติ แรกเริ่มนั้นเนื่องจากองค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดให้ ปีพุทธศักราช 2528 เป็นปีเยาวชนสากล ขอให้ประเทศสมาชิกร่วมเฉลิมฉลองปีเยาวชนสากลภายใต้คำขวัญ “Participation Development and Peace” คณะรัฐมนตรีแห่งประเทศไทยจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2528 กำหนดให้วันที่ 20 กันยายน ของทุกปี เป็นวันเยาวชนเเห่งชาติ เนื่องจากวันดังกล่าว เป็นคล้ายวันพระราชสมภพของยุวกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีสองพระองค์ เป็นวันอันเป็นสิริมงคลที่เยาวชนได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ คือ


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 20 กัยยายน พ.ศ. 2396 เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ด้วยพระชนมพรรษาเพียง 16 พรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ( รัชกาลที่ 8) ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ด้วยพระชนมพรรษาเพียง 12 พรรษา



คำว่าเยาวชนนั้น หากนึกภาพแบบทั่วๆไปตามความรู้สึกก็จะนึกถึงเด็กรุ่นวัยหนุ่มสาวนั้นเอง แต่หากให้ได้ความหมายที่เป็นทางการขึ้นมาเสียหน่อย อย่างถือตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ก็จะได้ความว่า “เยาวชน” หมายถึง บุคคลที่มีอายุเกิน 14 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ และไม่ใช่เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้วด้วยการสมรส


แต่หากอิงตาม องค์การสหประชาชาติ ก็จะมีความต่างกันของอายุตรงที่จะมากกว่านั้นคือ “เยาวชน” หมายถึง คนในวัยหนุ่มสาว ผู้มีอายุระหว่าง 15 - 25 ปี


การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นหนึ่งสิ่งที่รัฐให้ความสำคัญอย่างมาก ด้วยเชื่อว่าเหนือสิ่งอื่นใดแล้วคุณภาพของคนย่อมนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญ และทางแห่งการสร้างให้คนมีศักยภาพได้นั้น แน่นอนว่าต้องปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก วัยหนุ่มสาวของเยาวชน เป็นวัยที่เต็มไปด้วยแรงไฟ และพลังแห่งการเรียนรู้ เมื่อได้รับการประคับประคองจากสังคม เยาวชนย่อมจะเป็นพลังของชาติในวันข้างหน้า


เป้าหมายของวันเยาวชน

1. เพื่อให้เยาวชนได้ตระหนักถึงความสำคัญ ในการพัฒนาตนเองพัฒนาชุมชน พัฒนาประเทศ
2. เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงความสำคัญของ การพัฒนาเยาวชนให้เป็นทรัพยาการบุคคลที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติ ทั้งในด้านคุณภาพ และคุณธรรม
3. เพื่อให้นโยบายส่งเสริม และพัฒนาเยาวชนดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง สัมฤทธิ์ผล



คำขวัญวันเยาวชนแห่งชาติ
สืบเนื่องมาจากคำประกาศขององค์การสหประชาชาติ ได้ขอให้ประเทศสมาชิกร่วมเฉลิมฉลองปีเยาวชนสากลภายใต้คำขวัญ “Participation Development and Peace” ถอดความเป็นภาษาไทยว่า “ร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนา ใฝ่หาสันติ” โดยละเอียดแล้วแต่ละคำซึ่งมีความหมายละเอียดลึกซึ้งต่อเยาวชนทุกคน สามารถยึดถือและนำไปปฏิบัติดังนี้



ร่วมแรงแข็งขัน (participation) หมายถึง การยอมรับในศักยภาพของแต่ละบุคคล ที่จะสามารถวินิจฉัยและตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวกับตนเอง และตระหนักว่าตนมีโอกาส ได้ใช้โอกาสและพึงพอใจที่ได้ใช้โอกาสด้วยตนเองอย่างเกิดคุณค่าโดยไม่ตกเป็นเครื่องมือของผู้ใด การที่เยาวชนสามารถมีส่วนร่วมและมีบทบาทต่อชาติบ้านเมืองได้อย่างเต็มที่นั้น เป็นความสำเร็จของสังคมและประเทศชาติที่สำคัญ


ช่วยกันพัฒนา (development) การพัฒนานั้นมองได้ 2 มิติ มิติหนึ่งคือ การพัฒนาตนเองของแต่ละบุคคล และอีกมินิหนึ่งคือ การพัฒนาสังคมและประเทศชาติ หากบุคคลพัฒนาตนเองได้ดีก็จะเป็นกำลังสำคัญ และอีกมิติหนึ่งคือการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ หากบุคคลพัฒนาตนเองได้ดีก็จะเป็นกำลังสำคัญและมีคุณค่าต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ขณะเดียวกัน การพัฒนาสังคมและประเทศชาติก็จะเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาของบุคคลด้วยกระบวนการพัฒนา 2 ส่วนนี้ จึงมีความต่อเนื่อง สัมพันธ์กัน และในสภาวะปัจจุบัน ความร่วมมือในระดับนานาชาติ จะมีผลอย่างสำคัญยิ่งต่อความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศ


ใฝ่หาสันติ (peace) สันติภาพเป็นหลักการพื้นฐานของชีวิต ความต้องการสันติภาพ เป็นความต้องการของสากลโลก ซึ่งทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันเพื่อให้เกิดสันติภาพและดำรงคงไว้ คนหนุ่มสาวจึงต้องร่วมมือกันในเรื่องนี้ ผลักดันให้เกิดมาตรการที่จะสร้างความเชื่อมั่นในวิถีการพัฒนาด้วยสันติ และสร้างสำนึกสันติภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกฝังสั่งสอนเยาวชนให้รู้จักเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชน มีความอดกลั้น ความเป็นประชาธิปไตย และเสรีภาพพื้นฐาน


เครื่องหมายเยาวชนแห่งชาติ


ในปี พ.ศ.2517 สำนักเยาวชนแห่งชาติ ได้เสนอต่อคณะกรรมการบริหารและประสานงานเยาวชนแห่งชาติว่า เพื่อประสิทธิภาพและความมั่นคงในการดำเนินงานเยาวชนแห่งชาติ สมควรที่ขอรับพระราชทาน “เครื่องหมายเยาวชนแห่งชาติ” เพื่อเป็นสัญลักษณ์ผูกพันพลังน้ำใจ และเป็นเครื่องยึดมั่นสักการบูชาร่วมกันของบรรดาเยาวชน กลุ่มเยาวชน และหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับเยาวชน จึงได้เสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อนำความกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ซึ่งสำนักพระราชเลขาธิการได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท แล้วไม่ทรงขัดข้อง จึงมีพระบรมราชานุญาตให้นำพระมหาพิชัยมงกุฎประดับบนส่วนยอดเครื่องหมายเยาวชนแห่งชาติ


เครื่องหมายเป็นรูปโล่สีธงชาติ มีอักษรสีขาวคำว่า “เยาวชน” อยู่ในวงกลมพื้นสีเขียว เบื้องบนเป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ มีรัศมีอุณาโลม เบื้องล่างมีอักษรสีแดงว่า “พลังพัฒนาชาติ” รองรับด้วยรวงข้าว 9 รวง แยกอยู่ทางด้านขวา 5 รวง ด้านซ้าย 4 รวง




เครื่องหมายเยาวชนนี้ได้รับพระราชทาน และพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระมหาพิชัยมงกุฎบนส่วนยอดของเครื่องหมาย
เพื่อเป็นมิ่งขวัญ กำลังใจ และศิริมงคลแก่ชีวิตของเยาวชน



โดยสัญลักษณ์ต่างๆ มีความหมายถึง


1. พระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นเครื่องหมายแทนองค์พระมหากษัตริย์ องค์ประมุขสูงสุดของประเทศ ซึ่งเป็นที่เคารพ สักการะ และเป็นจุดรวมน้ำใจของคนทั้งประเทศ


2. รัศมีที่พระมหาพิชัยมงกุฎ หมายถึง พระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งหมายความว่า เยาวชนไทยนั้นอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือได้รับพระบารมีปกเกล้าฯ


3. อุณาโลม หมายถึง หว่างพระขนงของพระพุทธเจ้า ใช้เป็นเครื่องหมายแทนศาสนา


4. อักษรเยาวชนสีขาวในพื้นวงกลมสีเขียวรูปโล่สีธงชาติ หมายถึง พลังอันบริสุทธิ์แห่งความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเยาวชนไทย อันจะนำไปสู่ความสำเร็จ การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาการกสิกรรม อันเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ


5. รวงข้าวทั้ง 9 รวง มีความหมายถึง เป้าหมายในการพัฒนาเยาวชนทั้ง 9 ประการ ตามนโยบายเยาวชนแห่งชาติ โดยที่รวงข้าวหมายถึง ความเติบโตงอกงาม ฉะนั้น คุณลักษณะ 9 ประการที่จะปลูกฝังให้เกิดขึ้นในตัวเยาวชน จึงเปรียบเสมือนคุณสมบัติที่จะงอดงามขึ้นตามตัวเยาวชน


6. อักษรว่า พลัง พัฒนาชาติ เป็นคำขวัญ เพื่อเตือนใจเยาวชนให้ตระหนักว่า พวกเขานั้นมีพลังบริสุทธิ์อันหนักแน่น จริงจัง ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้มากในการช่วยพัฒนาประเทศชาติ


คุณสมบัติเด็กและเยาวชนที่พึ่งประสงค์ 6 ประการ


1. มีความผูกพันในครอบครัว ภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีทักษะในอาชีพและการดำรงชีวิตที่รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น
2. มีสุขภาพและพลานามัยแข็งแรงและรู้จักการป้องกันตนเองจากโรคและสิ่งเสพติด
3. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ จริยธรรม คุณธรรม และมีพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบตามวัย
4. มีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน มีศักดิ์ศรีและความภูมิใจในการทำงานสุจริต
5. รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลรอบด้าน และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
6. รู้จักช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติ





กิจกรรมวันเยาวชนแห่งชาติ




กิจกรรมวันเยาวชนแห่งชาติ ภาพระกอบจาก www.vijai.org


ในวันเยาวชนแห่งชาติ กิจกรรมต่างๆก็คล้ายงานวันเด็ก เพียงแต่จะเป็นกิจกรรมของคนที่โตขึ้นมาหน่อย ทางด้านร่างกาย จิตใจ วุฒิภาวะ ปัญหาความต้องการ ตลอดจนความคาดหวังที่สังคมมีต่อบุคคลทั้ง ๒ กลุ่ม โดยมีทั้งหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันสรรสร้างจัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้น เป็นการกระตุ้นและประชาสัมพันธ์ ให้เยาวชนได้ปลุกศักยภาพในตัวตน และกลับมามองบทบาทหน้าที่ของตนเองที่ควรมีต่อสังคม เช่น กิจกรรมการแข่งขัน จัดประกวดต่างๆ การรณรงค์ปลูกป่าอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การบำเพ็ญประโยชน์และสังคมสงเคราะห์ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองและสังคม เพื่อเป็นกำลังที่สวยงามของชาติต่อไป

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

24 กันยายน วันมหิดล

 
 
พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เป็นผู้ที่มีหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานด้านวัฒนธรรมของประเทศ สมาชิกต่าง ๆ ทั่วโลก ด้วยการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณ และผลงานของผู้มีผลงานดีเด่น ทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ให้ปรากฏแก่มวลสมาชิกทั่วโลก รวมถึงให้ประเทศสมาชิก ได้มีส่วนร่วมเฉลิมฉลองร่วมกับ ประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่อมเชิดชูเกียรติ


รัฐบาลไทย โดยคณะกรรมการแห่งชาติ ได้ยกย่องสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก เพื่อให้ยูเนสโกประกาศเชิดชูเกียรติ บรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ในวาระครบรอบ 100 ปี วันพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535


ภาพจาก
www.mat.or.th


เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2494 ได้มีประกาศอย่างเป็นทางการ ให้วันที่ 24 กันยายน เป็น "วันมหิดล" อันเป็น วันคล้ายวันทิวงคต ของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (กรมหลวงสงขลานครินทร์) พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า"พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย" เพื่อเป็นการถวายสักการะ และแสดงกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์


ตลอดระยะเวลา 12 ปีนั้น ทรงอุทิศพระองค์ในแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุขของประเทศไทยอย่างล้นเหลือ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆอันได้แก่ ทรงพระราชทานทุนการศึกษาส่วนพระองค์ "ทุนวิทยาศาสตร์แห่งแพทย์" เพื่อให้บุคคลไปศึกษาวิชาต่างประเทศ อีกทั้งยังทรงพระราชทานทุนเพื่อค้นคว้า และการสอนในโรงพยาบาลศิราราช อันเป็นทุนแรกของทุนประเภทนี้ในประเทศไทย และเพื่อปรับปรุงการศึกษาแพทย์และพยาบาลให้ได้มาตรฐานสากล จึงทรงเป็นผู้แทนของรัฐบาลทำการติดต่อมูลนิธิร๊อกกี้เฟลเลอร์ให้ทำการช่วยเหลือการแพทย์และพยาบาลของไทย ซึ่งทางมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ก็ได้ให้ความช่วยเหลือโดยการส่งอาจารย์แพทย์ มามาถึง 6 ท่านรวมทั้งทรงพระราชทานทุนทรัพย์รวมทั้งที่ดินและอาคารส่วนพระองค์ เพื่อขยายกิจการของโรงพยาบาลศิริราช เพื่อใช้เป็นสถานที่เรียน หอผู้ป่วย และหอพักนักศึกษาแพทย์และพยาบาล รวมทั้งทรงปรับปรุงวชิรพยาบาลเมื่อทรงเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการวชิรพยาบาล ทรงริเริ่มโครงการเพื่อปรับปรุงโรงพยาบาลแห่งนี้ ให้มีความเจริญมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังทรงพระราชทานเงินให้กับโรงพยาบาลแมคคอมิค สำหรับจ้างแพทย์ชาวต่างประเทศ รพ.แมคคอร์มิค และรพ.สงขลา

ภาพจาก kanchanapisek.or.th



ส่วนพระองค์ และมรดกอีกจำนวนหนึ่งที่พระราชทานเพื่อประโยชน์ของการแพทย์ตลอดระยะเวลากว่าสิบปี รวมทั้งที่มอบไว้เป็นหนึ่งเพื่อใช้ในการให้ทุนแพทย์ไปศึกษาต่างประเทศนั้น รวมแล้วเป็นจำนวนเงินประมาณหนึ่งล้านสี่แสนบาท



ประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก



สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
His Royal Highness Prince Mahidol of Songkla
“พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย”
“The Father of Modern Medicine in Thailand”



สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2434 (ก่อนปี 2484 วันขึ้นปีใหม่ของไทยตรงกับวันที่ 1 เม.ย. ดังนั้นเดือน ม.ค. 2534 ซึ่งเป็นเดือนพระราชสมภพยังคงนับตามปฏิทินเก่า เมื่อเทียบกับปฏิทินสากลที่ใช้ในปัจจุบันจึงตรงกับ ม.ค.2435)



ทรงศึกษาในโรงเรียนราชกุมารตั้งแต่ก่อนโสกันต์จนถึงพระชนมายุได้ 13 ปี 4 เดือน
เป็นที่น่าอัศจรรย์ด้วยว่าพระชนมายุยังน้อย ทว่าทรงมีความรู้กว้างขวางในภาษาไทยยิ่งนัก และทรงศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก แต่เป็นเพียงเพื่อทรงรับการฝึกหัดท่ามือเปล่าให้ได้ทรงรู้จักกิริยาท่าทางของทหารบ้างเท่านั้น มิได้ทรงเข้าศึกษาวิชชาในชั้นต่างๆ



เมื่อพฤษภาคม พ.ศ.2448 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ ในส่วนสมเด็จเจ้าฟ้าราชโอรสนั้น ได้เสด็จไปทรงเริ่มเล่าเรียนที่ประเทศอังกฤษก่อนทุกพระองค์ จึงได้เสด็จพร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าราชโอรสอีก ๓ พระองค์ ทรงเล่าเรียนที่โรงเรียนแฮโรว์ ต่อมาพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯโปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้าราชโอรสได้แยกย้ายกันไปศึกษาวิชชาการทหาร ณ ประเทศเยอรมัน และด้วยความรู้ภาษาอังกฤษที่ได้ศึกษามานั้น นับเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการศึกษาวิชชาในกองทัพเรือ


ทูลกระหม่อมได้ทรงศึกษาตั้งแต่เป็นคะเด็ตทหารเรือ จนเลื่อนยศเป็นเรือตรีรวมเวลาทั้งสิ้น 3 ปีครึ่ง จึงจะนับว่ามีความรู้ความชำนาญ เป็นเรือตรีแห่งราชนาวีเยอรมันได้ เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่พระราชทานพระบรมราชานุญาต ตามที่ทรงปรารถนาที่จะลงประจำเรือรบแห่งราชนาวีเยอรมัน เพื่อดูการปฏิบัติการจริง จึงได้ทรงเสด็จกลับประเทศ


จากนั้นเสด็จกลับเข้ามารับราชการในกองทัพเรือ ต่อมาทรงมีอาการประชวรเรื้อรัง ไม่ทรงสามารถรับราชการหนัก เช่นการทหารเรือได้ ประกอบกับทรงพระดำริว่า ยังมีกิจการอย่างอื่นที่ทรงเห็นว่าสำคัญ และจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า คือ การสาธารณสุข และการแพทย์ ดังนั้นพระองค์ท่านจึงได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ลาออกจากราชการทหารเรือแล้วเสด็จออกไปยังต่างประเทศ เพื่อศึกษาวิชาการสาธารณสุขและวิชาแพทย์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีพระราชดำรัสก่อนที่จะเสด็จไปศึกษาวิชาการแพทย์ต่อที่ต่างประเทศว่า" ฉันจะไปเรียนหมอหละ เพราะเป็นวิชาที่สนุกดี เรามีโอกาสรักษาคนได้ทั้งคนจนคนมั่งมี และเจ้านายต่าง ๆ ได้เต็มที่ หมอทำการกุศล ในการรักษาพยาบาลได้ดี เมืองไทยเราถ้าเจ้านายทรงทำหน้าที่อย่างสามัญชนเข้าบ้างเขาว่าเสียพระเกียรติ ฉันรู้สึกว่ามัวแต่รักษาพระเกียรติอยู่ก็ไม่ต้องทำอะไรกัน" ทรงสอบได้ประกาศนียบัตรการสาธารณสุข และปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต เกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด


สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกสวรรคตเมื่อ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ รวมพระชนมายุ 37 พรรษา 8 เดือน 23 วัน


การพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จฯพระบรมชนก
ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พ.ศ. 2472
ภาพจาก medinfo.psu.ac.th



21 ปี หลังจากที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกได้เสด็จสวรรคต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล บรรดาศิษย์เก่าศิริราช ผู้ที่ได้รับทุนของพระองค์ไปศึกษา ณ ต่างประเทศ ผู้ที่เคยได้รับพระมหากรุณาในประการอื่นๆ ตลอดจนประชาชนผู้สนใจทั่วไปไ ด้ร่วมใจกันสร้างพระราชานุสาวรีย์ประดิษฐานไว้ ณ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อเป็นการร่วมกันน้อมสำนึกพระเมตตาคุณพระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย โดยมอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการสร้าง และมีศาสตราจารย์ศิลป พีรพศรี เป็นผู้ควบคุมงาน


โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิดพระราชนุสาวรีย์เมื่อวันที 24 เมษายน พ.ศ. 2493 พระราชานุสาวรีย์นี้ได้รับการตกแต่งเพิ่มเติมครั้งแรกเมื่อปี 2517 และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่โดยสร้างรากฐานและบริเวณโดยรอบทั้งหมดเพื่อให้ถาวร สง่างามและสมพระเกียรติยิ่งขึ้น ดังที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้


"วันมหิดล" กับกองทัพเรือ



ภาพจาก
www.princemahidolaward.org


นอกเหนือจากพระราชกรณียกิจที่ได้รทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุขแล้ว พระองค์ก็ทรงมีคุณูปการแก่กองทัพเรืออย่างใหญ่หลวง กองทัพเรือยังถือว่าใน "วันมหิดล" จะเป็นวันที่ร่วมรำลึกถึง จอมพลเรือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ทรงมีพระกรุณาธิคุณต่อกองทัพเรือเป็นอเนกอนันต์ กองทัพเรือจึงได้จัดพิธีทำบุญวันมหิดลเป็นประจำทุกปี
ตอนปลายเดือนมีนาคมนั้นเอง ทูนกระหม่อมได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นร้อยโท ในราชนาวี และได้ทรงรับราชการในกระทรวงทหารเรือตั้งแต่เดือนเมษายน จนถึงเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๕๘ เป็นเวลาทั้งสิ้น ๙ เดือนครึ่ง



ถึงแม้พระองค์ทรงเข้ารับราชการในกองทัพเรือเป็นระยะเวลาไม่นานนัก แต่ด้วยความที่ทรงเชี่ยวชาญทางเรือดำน้ำและเรือตอร์ปิโดรักษาฝั่ง สายพระเนตรอันกว้างไกลพระองค์ได้ทรงเสนอแนวคิดและโครงการสร้างกองเรือรบที่กองทัพเรือควรจะมีไว้ประจำการต่อเสนาธิการทหารเรือ จึงทำให้เกิดการสร้างกำลังรบทางเรือไว้ป้องกันประเทศชาติในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งการมีเรือดำน้ำและเรือรบประเภทต่าง ๆนั้นทำให้ประเทศไทยสามารถป้องกันและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลได้อย่างมีศักยภาพและรักษาสันติสุขของชาติไว้ได้อย่างมั่นคง ดั่งที่ทหารเรือทั่วโลกในเวลานี้ต่างก็เล็งเห็นถึงความสำคัญ



กิจกรรมวันมหิดล เครือข่ายพญาไท ร่วมใจสร้างเสริมสุขภาพ


หน่วยงานราชการต่างๆ โดยเฉพาะทางการแพทย์และสาธารณสุขทั่วประเทศ จะมีการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อน้อมสำนึกพระเมตตาคุณพระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย รวมทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้และให้บริการทางสุขภาพกับประชาชน


และโดยเฉพาะคณะนักศึกษาแพทย์และพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องในวันมหิดล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 ได้จัดให้มี กิจกรรมออกรับบริจาคสมทบทุนศิริราชมูลนิธิ ในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน ของทุกปี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2549 ได้เริ่มรวมตัวกันของเครือข่ายมหิดลพญาไท ปัจจุบันมีสถาบันเข้ามาร่วม 9 หน่วยงานด้วยกันได้แก่ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน คณะวิทยาศาสตร์ สำนักคอมพิวเตอร์ สถาบันนวัตกรรมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา โดยทั้ง 9 หน่วยงานนี้ ได้ร่วมมือจัดงาน “วันมหิดล เครือข่ายพญาไท ร่วมใจสร้างเสริมสุขภาพ” ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพระราม 6




ในปีนี้ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงพระกรุณาทรงเป็นองค์ประธานจัดงานหารายได้ช่วยผู้ป่วยด้อยโอกาส รพ.ศิริราช นับเป็นพระกรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ โอกาสนี้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติโดยวันที่ 23 กันยายน 2551นักศึกษาวิทยาเขตบางกอกน้อย (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ คณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์ และคณะเทคนิคการแพทย์) จะออกรับบริจาคพร้อมกันครั้งใหญ่ทั่วกรุงเทพฯ พร้อมมอบธงและสติ๊กเกอร์ที่ระลึก


เมื่อบริจาคทุก 500 บาท จะมี ธงสัญลักษณ์วันมหิดล พร้อมเสาธง บริจาคทุก 20 บาท จะมี ธงสัญลักษณ์วันมหิดล และน้อยกว่า 20 บาท จะมีสติกเกอร์วันมหิดล มอบเป็นของที่ระลึก


นอกจากการออกรับบริจาคของนักศึกษาแล้ว คณะฯ ยังจัดรายการพิเศษเนื่องในวันมหิดล คืนวันเสาร์ที่ 20 กันยายน 2551 เวลา 4 ทุ่มเป็นต้นไป ทาง ททบ.5 ซึ่งมาพร้อมสาระเพื่อสุขภาพชวนติดตาม อาทิ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชทานสัมภาษณ์ในการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระบรมราชชนกเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย สัมผัสชีวิตจริงทุกขั้นตอน “กว่าจะเป็นธงวันมหิดล” รู้ทัน – กันได้ ห่างไกล “การคลอดก่อนกำหนด” และวิทยาการการแพทย์ช่วยได้อย่างไร “กบนอกกะลา” ไขปริศนา “เส้นทางของเงินบริจาคไปไหน”


และสำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ สามารถสอบถามแพทย์ศิริราชตัวจริง เสียงจริง ซึ่งทางโรงพยาบาลได้ระดมคณาจารย์แพทย์ไปช่วยตอบปัญหามากมาย โทร. 02278 5940 (20 คู่สาย) สำหรับท่านที่ต้องการตามรอยพระบาทพระราชบิดาช่วยผู้ป่วยกรุณา โทร. 02270 2233 (100 คู่สาย)


ส่วนในวันที่ 24 กันยายน 2551 นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก


ทั้งนี้ ท่านที่ประสงค์จะช่วยกันสานต่อหนึ่งในผลงานอันล้ำค่าของ “สมเด็จพระบรมราชชนก”...ช่วยผู้ป่วย สามารถบริจาคโดยตรงได้ที่ ศิริราชมูลนิธิ ตึกมหิดลบำเพ็ญ ชั้น 1 วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 07.30 - 17.30 น. วันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30 – 16.30 น. โทร. 02419 7658 – 9

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

วันโอโซนโลก World Ozone Day 16 ก.ย. ประวัติความเป็นมาความสำคัญ

วันโอโซนโลก World Ozone Day ประวัติความเป็นมาความสำคัญ โอโซนคืออะไร

วันโอโซนโลก 16 กันยายน
วันโอโซนโลก World Ozone Day 16 กันยายนของทุกปี

วันโอโซนโลก

วันโอโซนโลก World Ozone Day ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นการพิทักษ์บรรยากาศชั้นโอโซนนานาประเทศ ได้ร่วมกันจัดทาอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2528)เรียกว่า "อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสาร ว่าด้วยการเลิกใช้สารทาลายชั้นโอโซน" ขึ้นในปี ค.ศ. 1987 (พ.ศ. 2530) เรียกว่า "พิธีสารมอลทรีออล" สาระ สาคัญของอนุสัญญาเวียนนานับว่าเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มุ่งมั่นในการ พิทักษ์ ชั้นโอโซน และ เป็นเครื่องมือทางกฎหมายข้อแรกที่กลายเป็นรูปแบบของการแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมร่วมกัน ปัจจุบันมีประเทศที่ร่วมให้สัตยาบันแล้วรวม 131 ประเทศ นั่นหมายถึง ชุมชนโลกส่วนใหญ่ ได้พร้อมใจกันที่จะพิทักษ์ ชั้นโอโซนแล้ว
หลังจากองค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติได้ผลักดันให้มีการลงนามใน อนุสัญญาเวียนนา ว่าด้วยการพิทักษ์ชั้นโอโซน ในปี พ.ศ.2528 (1985) ปัจจุบันมี สมาชิก 176 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ต่อมาได้มีข้อกำหนดที่เรียกว่า พิธีสารมอนทรีออล ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2530 (1987) ณ นคร มอนทรีออล โดยประเทศต่างๆ ทั่วโลกจำนวน 47 ประเทศได้ให้สัตยาบันต่อข้อกำหนด ว่าด้วยการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน รัฐบาลต่างๆ เห็นความจำเป็นของมาตรการที่แข็งแกร่งเพื่อลดและเลิกใช้สารทำลายโอโซน ซึ่งได้แก่ CFC-11, CFC-12, CFC-113, CFC-114, CFC-115 และ Halon -1211, Halon-1301, Halon-2402 จึงมีหมายกำหนดเลิกใช้บนพื้นฐานการประเมินทางวิทยาศาสตร์ นับจากนั้นมาได้มีประเทศอื่นที่ให้สัตยาบันต่อพิธีสารแล้วกว่า 175 ประเทศ (ข้อมูลวันที่ 20 กรกฎาคม 2543) รวมทั้งประเทศไทย (โดยได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 ) และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในปีต่อๆ มาอีก 5 ครั้ง เพื่อเพิ่มมาตรการในการควบคุมสารทำลายโอโซนให้รัดกุมและได้ผลเร็วขึ้น ได้แก่
1. การแก้ไขข้อกำหนดในการควบคุมสารทำลายชั้นโอโซนในการประชุมประเทศภาคีสมาชิกครั้งที่ 2 ณ นครลอนดอน พ.ศ.2533 หรือ London Amendment 1990 มีเนื้อหาเพื่อลดการใช้ CFC-13, 111, 112, 211, 212, 213, 214, 215, 216, 217 รวมทั้ง คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4)และ เมธิลคลอโรฟอร์ม (CH3CCl3) ปัจจุบันมีสมาชิก 141 ประเทศรวมทั้งประเทศไทย
2. การแก้ไขข้อกำหนดในการควบคุมสารทำลายชั้นโอโซนในการประชุมประเทศภาคีสมาชิกครั้งที่ 4 ณ นครโคเปนฮาเกน พ.ศ.2535 หรือ Copenhagen Amendment 1992 มีเนื้อหาเพื่อลดการใช้ เมทธิลโบรไมด์ (CH3Br) ไฮโดรโบรโมฟลูออโรคาร์บอน (HBFCs) และไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (HCFCs) ปัจจุบันมี สมาชิก 108 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย
3. การแก้ไขข้อกำหนดในการควบคุมสารทำลายชั้นโอโซนในการประชุมประเทศภาคีสมาชิกครั้งที่ 7ณ กรุง เวียนนา พ.ศ.2538 หรือ Vienna Adjustment 1995 มีกำหนดการควบคุมเมทธิลโบรไมด์
4. การแก้ไขข้อกำหนดในการควบคุมสารทำลายชั้นโอโซนในการประชุมประเทศภาคีสมาชิกครั้งที่ 9 ณ นครมอนทรีออล พ.ศ.2540 หรือ Montreal Amendment 1997 มีกำหนดเลิกใช้ เมทธิลโบรไมด์ ปัจจุบันมี สมาชิก 39 ประเทศ
5. การแก้ไขข้อกำหนดในการควบคุมสารทำลายชั้นโอโซนในการประชุมประเทศภาคีสมาชิกครั้งที่ 11 ณ นครปักกิ่ง พ.ศ.2542 หรือ Beijing Amendment 1999 เพิ่มเติมการควบคุมสาร โบรโมคลอโรมีเทน และ ไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (ปัจจุบันมี สมาชิก 1 ประเทศ)
หมายเหตุ พันธกรณีสำหรับประเทศไทย รับผิดชอบโดย กรมโรงงานอุตสาหกรรม
รูรั่วของโอโซน
รูรั่วของโอโซนเกิดเฉพาะเหนือบริเวณทวีปแอนตาร์กติก
เพราะว่ามีสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยให้เกิดปฏิกิริยาทำลายโอโซนเนื่องจากแสงแดดในฤดูใบไม้ผลิ
"โอโซน" มีคุณสมบัติที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทุกชนิด รวมทั้งคุณสมบัติในการ ชาระ ล้างสารพิษที่ตกค้างต่างๆ นอกจากนี้โอโซนยังสามารถแก้ไขปัญหาน้าเสียได้ โดยการนาโอโซนผสมกับน้า ทาให้แบคทีเรียในน้าถูกโอโซนทาลาย เหลือแต่น้าบริสุทธิ์ มาทาน้าดื่มหรือ ใช้อาบก็ดี จากสาเหตุดังกล่าวจึงทาให้องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 16 กันยายน ของทุกปี เป็น “วันโอโซนโลก” เริ่มตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา

วัตถุประสงค์การตั้งวันโอโซนโลก World Ozone Day

1. เพื่อกระตุ้น ให้ประเทศปฏิบัติต่ออนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
2. เพื่อช่วยกันลดใช้สาร CFC และสารฮาลอนซึ่งเป็นตัวทาลายบรรยากาศโอโซนในชั้นบรรยากาศ

รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับวันโอโซนโลก World Ozone Day

โอโซน เป็นก๊าซสีน้ำเงินเข้ม พบได้ทั่วไปในบรรยากาศโลก โดยอยู่ในบรรยากาศระดับสูงที่เรียกว่าชั้นสตราโซเฟียร์ โอโซนจะจับตัวกันเป็นก้อนปกคลุมทั่วโลก บางแห่งจะหนา และบางในบางแห่ง ชั้นโอโซนจะทำหน้าที่ปกป้องโลกจากรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ รังสีนี้จะทำให้โลกร้อนขึ้น และทำให้เกิดอันตรายกับสิ่งมีชีวิต เพราะรังสีอัลตราไวโอเลตทำลายเซลล์ของสิ่งมีชีวิต โดยปริมาณรังสีที่กระทบผิวหนังมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง ตาเป็นต้อหรือมัวลง และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นสารที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต มีผลทำให้พืชและสัตว์กลายพันธุ์ เกิดการทำลายระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์
โอโซน มีคุณสมบัติ ฆ่าเชื้อโรคได้ทุกชนิด ทำลายจุลินทรีย์ รวมทั้งคุณสมบัติในการชำระล้างสารพิษที่ตก ค้าง และยังแก้ปัญหาน้ำเสียได้ โดยนำโอโซน ผสมกับน้ำ ทำให้แบคทีเรียในน้ำถูกโอโซนทำลาย เหลือแต่น้ำบริสุทธิ์มาทำน้ำดื่มหรือใช้บริโภค โอโซนยังมีผลต่ออุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากชั้นโอโซนเกิดช่องโหว่นั่นเอง
ในปี ค.ศ.1974 มาริโอ โมลินา กับ เชอร์วู้ด โรว์แลนด์ แห่งมหา วิทยาลัยแคลิฟอเนียร์ ทำการวิจัยพบว่า สารชนิดหนึ่งชื่อว่า สาร CFC คือตัวการทำลายชั้นโอโซน ผลงานนั้นทำให้ทั้งคู่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมี ปี ค.ศ.1995

สาร CFC กับโอโซนโลก

สาร CFC มีชื่อทางการค้าว่า ฟรีรอน ซึ่งครั้งหนึ่งถือว่าเป็นสารมหัศจรรย์ เพราะไม่ติดไฟ ไม่เป็นพิษต่อผู้สูดดมเข้าไป ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง จึงมีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เช่น ใช้เป็นสารทำให้เกิดความเย็นในตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตโฟม พลาสติก ใช้เป็นสารทำลายในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และใช้เป็นสารขับดันในสเปรย์กระป๋อง เช่น สีพ่น สเปรย์ฆ่าแมลง สเปรย์ฉีดผม อื่นๆ อีกจำนวนมาก และทำให้มีซีเอฟซีระเหยขึ้นสู่บรรยากาศมากขึ้นด้วย
การใช้สารกลุ่ม CFC มีความสามารถทำลายชั้นบรรยากาศได้เพราะมีคลอรีน (chlorine) เป็นองค์ประกอบในโมเลกุล เมื่อสารนี้ลอยขึ้นไปสู่ชั้นสตราโตสเฟียร์และถูกรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวง อาทิตย์ จะแตกตัวทำให้เกิดคลอรีนอิสระ คลอรีนนี้จะไปทำปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน ทำให้โอโซนถูกทำลาย ไม่สามารถจะกั้นรังสีอัลตราไวโอเลตได้ CFC ยังสลายตัวได้ยาก จึงตกค้างในบรรยากาศยาวนาน ทำให้ก๊าซโอโซนถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง ส่วนสารฮาลอนใช้เป็นสารดับเพลิงในอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย

โอโซน

ก๊าซโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ ทำหน้าที่ดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ตซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ให้ตกกระทบถึงพื้นผิวโลก ในปี พ.ศ.2525 นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจพบรูโหว่ขนาดใหญ่ของชั้นโอโซน เหนือทวีปแอนตาร์คติก ขั้วโลกใต้ ซึ่งเกิดจากกระแสลมพัดคลอรีนจากสาร CFC เข้ามาสะสมในก้อนเมฆในชั้นสตราโตสเฟียร์ ในช่วงฤดูหนาวเดือนพฤษภาคม – กันยายน (ขั้วโลกเหนือไม่มีเมฆในชั้นสตราโตสเฟียร์ เนื่องจากอุณหภูมิไม่ต่ำพอที่จะทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำในอากาศ) เมื่อถึงเดือนตุลาคมแสงอาทิตย์กระทบเข้ากับก้อนเมฆ ปลดปล่อยคลอรีนอะตอมอิสระให้ทำปฏิกิริยากับโอโซน ทำให้เกิดรูโหว่ จึงต้องมีการตั้งวันโอโซนโลกขึ้นมา
รูรั่วของโอโซนโลกบริเวณขั้วโลกใต้
ภาพช่องโหว่โอโซนจากปี 1995-2007

คุณสมบัติของโอโซน


ก๊าซโอโซนบริสุทธิ์จะมีสีน้ำเงินแก่ มีกลิ่นคล้ายคลอรีนจางๆ ถ้าดมเข้าไปมากๆ จะปวดศีรษะ โอโซนละลายน้ำได้มากกว่าก๊าซออกซิเจน มีจุดเดือดที่ -111.5 องศาเซลเซียส และมีจุดหลอมเหลวที่ -251 องศาเซลเซียส เมื่ออยู่ในสภาวะที่เป็นก๊าซบริสุทธิ์จะเสถียรภาพดีพอสมควร แต่ถ้ามีสารอินทรีย์ปนอยู่ในน้ำแล้ว โอโซนจะสลายตัวเป็นออกซิเจนได้ง่าย ถ้าผสมอยู่กับอากาศจะค่อยๆกลายเป็นออกซิเจน ถ้าอุณหภูมิถึง 300 องศาเซลเซียส จะสลายตัวอย่างรวดเร็ว

แหล่งที่มาของโอโซน


1. เกิดตามธรรมชาติ เกิดจากการรวมตัวกันของโมเลกุลของก๊าซออกซิเจน โดยมีรังสีอุลตราไวโอเลตที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่า 242 นาโนเมตร เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้เกิดพลังงานที่จะดึงเอาโมเลกุลของก๊าซออกซิเจนให้แตกตัวเป็นอะตอม ของออกซิเจน 2 อะตอม และเมื่ออะตอมของออกซิเจน 1 อะตอมพบกับโมเลกุลของก๊าซออกซิเจนจะเกิดการรวมตัวดังสมการ

O2 ---- (uv) ----- O+O
O+O2 ---- O3
โอโซน ที่เกิดขึ้นนี้สามารถดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตแล้วแตกตัวกลายเป็นก๊าซ ออกซิเจนและรวมตัวกับอะตอมของออกซิจน กลายเป็นโอโซนได้อีก โดยมีรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งจะเกิดเช่นนี้ไปได้เรื่อยๆ โดยไม่มีที่สิ้นสุดแบบปฏิกิริยาลูกโซ่ โอโซนยังสามารถเกิดได้เองในอากาศจากพายุฝนฟ้าคะนองหรือจากฟ้าแลบได้อีกด้วย กระบวนการเกิดปฏิกิริยาดังกล่าวนี้เรียกว่าขบวนการโพโตเคมีคอล (Photochamical process) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดก๊าซโอโซนและสลายตัวพร้อมกัน และในที่สุดปฏิกิริยาของก๊าซโอโซนก็จะอยู่ในภาวะสมดุลโดยที่อัตราการเกิดและ สลายตัวเท่ากัน

2. เกิดจากการกระทำของมนุษย์ โอโซนถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การกำจัดน้ำเสียและใช้ฆ่าเชื้อ การเตรียมก๊าซโอโซนที่สะดวกที่สุดใช้ไฟฟ้า silent electrical discharge กระทำกับอากาศหรือกับก๊าซออกซิเจน ซึ่งก๊าซออกซิเจนบางส่วนเท่านั้นที่กลายเป็นโอโซน ถ้าใช้อากาศ เรียกก๊าซผสมนี้ว่า ไอโอไนซ์แอร์ (ozonised air) ถ้าใช้ก๊าซออกซิเจนก๊าซโอโซนที่เกิดขึ้นจะปนอยู่กับก๊าซออกซิเจนที่เหลือ เรียกว่า ozonised oxygen เครื่องมือที่ใช้เตรียมก๊าซโอโซนด้วยวิธีนี้เรียกว่า โอโนไนเซอร์ (ozonizer)

โอโซนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศส่วนหนึ่งที่ปกคลุมผิวโลก ซึ่งมีลักษณะเป็นชั้นบางๆ บริเวณที่อยู่แปรผันอยู่ระหว่างระดับน้ำทะเลขึ้นไปถึงระยะ 60 กิโลเมตร โอโซนส่วนใหญ่อยู่ที่ชั้นบรรยากาศสตาร์โตสเฟียร์ซึ่งพบประมาณร้อยละ 89 - 90 ส่วนที่เหลือจะกระจายอยู่ชั้นโทรโพสเฟียร์และเมโซสเฟียร์ ชั้นโอโซนจะทำหน้าที่กรองแสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์โดยสามารถดูดแสง UV-B ความยาวคลื่นระหว่าง 280 - 320 นาโนเมตร ไว้ได้ประมาณ ร้อยละ 70 - 90 รังสี UV-B นี้เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต โอโซนยังมีบทบาทสำคัญในการกำหนดหรือควบคุมอุณหภูมิของโลกและบรรยากาศ โดยสามารถดูดรังสีอินฟราเรดซึ่งสะท้อนจากผิวโลกและจากชั้นสตราโตสเฟียร์ได้ ทำให้อุณหภูมิบรรยากาศโลกชั้นนี้สูงขึ้น มีผลต่อสภาพภูมิอากาศของผิวโลก

โอโซนส่วนใหญ่อยู่ในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ โดยมีความเข้มข้นประมาณ 10 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งเป็นปริมาณน้อยมากแต่ก็มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ ปัจจุบันพบว่ามีการปล่อยสารเคมีต่างๆขึ้นสู่บรรยากาศมากขึ้น ทำให้ก๊าซโอโซนน้อยลงจากการใช้เครื่องมือต่างๆวัดพบว่าโอโซนลดลงร้อยละ 2-3 ที่ระดับความสูง 30-40 กิโลเมตรและจากการใช้เครื่อง สเปคโทรมิเตอร์ (Spectrometer) ตรวจวัดปริมาณโอโซนในบริเวณขั้วโลกได้ของเดือนตุลาคมในทุกปี ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 1957 เป็นต้นไปก็ได้พบว่าปริมาณของโอโซนที่อยู่เหนือบริเวณขั้วโลกได้ลดลงเกือบ 40 เปอร์เซนต์ และลดลงมากที่สุดในปี 1970 ผลการตรวจวัดระดับโอโซนในบรรยากาศได้รับการยืนยันในปี 1975
ภาพชั้นโอโซนที่ถูกทำลาย
ภาพจากขั้วโลกใต้ ถ่ายจากดาวเทียมซึ่งเรียกว่า TMOS (Total Ozone MApping Spectrometer)
ส่วนสีเหลืองและแดงแสดงให้เห็นถึง"ช่องว่างของโอโซน" Credit: NASA


จากการใช้ดาวเทียมสำรวจ ได้แสดงให้เห็นว่าเกิดความเสียหายขึ้นต่อชั้นโอโซนเหนือบริเวณขั้วโลกใต้ และได้พบความเสียหายได้ขยายตัวมายังบริเวณเส้นศูนย์สูตรประมาณ 45 องศาใต้ ซึ่งองค์การนาซ่าของสหรัฐก็ได้ทำการตรวจสอบสภาพบรรยากาศของโลกได้รายงานว่า เกิดมีลักษณะความเข้มของแสงอาทิตย์ที่ผ่านบรรยากาศไม่สม่ำเสมอจึงได้หา สาเหตุและพบว่าโอโซนที่อยู่รอบโลกในชั้นบรรยากาศโดยเฉพาะบริเวณขั้วโลกใต้ และขั้วโลกเหนือได้ลดลงเป็นหย่อม ๆ และเกิดมากขึ้นเป็นลำดับบางหย่อมคิดเป็นพื้นที่ได้ประมาณ 9 ล้านตารางกิโลเมตร ( เกษม, 2533 ) การที่โอโซนในชั้นสตราโตเพียร์ถูกทำลายไปเนื่องจากสารเคมีที่ปล่อยสู่ชั้น บรรยากาศและสารที่สำคัญคือ CFCs ซึ่งจะมีผลทำให้ UV ส่องมาถึงโลกมากขึ้นมีผลเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้

สารเคมี 2 ชนิดที่อยู่ในรูปของก๊าซ ในชั้นบรรยากาศที่ทำลายโอโซนได้คือคลอรีนออกไซด์ (Chlorine Oxides; ClOx) และ ไนโตรเจนออกไซด์ (Nitrogen Oxides ; Nox) (ดูเรื่องสาร CFC ประกอบ)

ไนโตรเจนออกไซด์มาจากไนตรัสออกไซด์ (Nitrous Oxides ; N2O) ซึ่งมีจุดกำเนิดตามธรรมชาติที่ผิวโลก เช่น กระบวนการ denitrication ของจุลินทรีย์และในบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ เกิดจากฟ้าแลบฟ้าร้อง พวกเครื่องบินที่บินเร็วเหนือเสียง (SST) ที่ปล่อยไนตริกออกไซด์จากไอเสียและยังมีสารพวกฮาโลเจน (Halogen) โดยเฉพาะพวกก๊าซโบมีน (Br) ที่สามารถสลายโอโซนได้ในทางทฤษฎี

ขบวนการสำคัญที่สุดที่ทำลายโอโซนคือขบวนการที่มีอะตอมของคลอรีน ไนตริกออกไซด์ ไฮโดรเจนออกไซด์ โบมีน และ ไฮรโดรเจนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (catalyst) ผลของปฏิกิริยาที่ทำกับโอโซนหรือออกซิเจนนั้น จะทำให้อะตอมของสารพวกนั้นออกมาและเริ่มต้นใหม่เป็นวงจร ดังนี้

O3 + Solar radiation---------------- O + O2
O + XO3 --------------------- X + O2
X + O3 --------------------- XO + O2

Net 2O3 3O2
(X = Cl,No,Br,OH,H)

คลิปวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับวันโอโซนโลก

คลิปวิดีโอแสดงการเปลี่ยนแปลงของช่องโหว่โอโซนตั้งแต่ปี 1979-2007

สารทดแทนและเป็นมิตรกับโอโซน Alternative Ozone-friendly

ปัจจุบันมีการผลิตในประเทศอุตสาหกรรมกันอย่างกว้างขวาง แม้ในประเทศกำลังพัฒนาเช่น อินเดีย จีน บราซิล ผู้ผลิตสินค้าต่างๆมีการตื่นตัวในการลดการใช้สาร CFCs และหันมาใช้สารทดแทนเป็นส่วนประกอบในการผลิต โดยมีระบุในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการใช้สาร CFCs หรือใช้สารทดแทนต่างๆ ซึ่งได้แก่
1. ภาคของเครื่องทำความเย็น
ก. ตู้เย็นผลิตใหม่ (New refrigeration units) ใช้สารทดแทนเป็น HFC-134a, สารไฮโดรคาร์บอนต่างๆ HFC blends, HCFC 22 และ แอมโมเนีย
ข. เครื่องปรับอากาศ (Air-cooled air conditioning units) ใช้ HFC-134a, HFC blends
ค. เครื่องทำน้ำเย็นในระบบปรับอากาศ (Chiller equipment) ใช้ HFCs, HCFC และ HFC blends
ง. เครื่องปรับอากาศรถยนต์ (Mobile Air Conditioners) ใช้ HFC-134a, HFC blends
2. ภาคการผลิตโฟม ใช้สารทดแทนที่ศักยภาพการทำลายโอโซนเป็นศูนย์ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรคาร์บอนต่างๆ HFC-152a หรือ HFC-134a และ HCFCs
3. ละอองสเปรย์ (Aerosols) ใช้สารทดแทนได้แก่ สารไฮโดรคาร์บอนต่างๆ เช่น โพรเพน บิวเทน และ ไอโซ-บิวเทน HCFC, HFCs ไดเมธิล อีเทอร์ และ เพอฟลูโอรอลอีเทอร์ เป็นต้น
4. การทำลายเชื้อโรค ใช้สารทดแทนที่ศักยภาพการทำลายโอโซนเป็นศูนย์ ได้แก่ เอธิลีนออกไซด์ 100% ส่วนผสมของเอธิลีนออกไซด์และคาร์บอนไดออกไซด์ การสเตอริไรซ์ และ การใช้ฟอร์มัลดีไฮด์ รวมไปถึง HCFCs ต่างๆ
5. ตัวทำละลายคาร์บอนเตตระคลอไรด์ ใช้สารทดแทนเป็นสารอินทรีย์เช่น อัลกอฮอล์ คีโตน และ อีสเตอร์ หรือ ที่มีคลอรีนคือ เพอคลอโรเอธิลีน เป็นต้น สารทดแทนเหล่านี้มีทั้งคุณและโทษ
6. เครื่องดับเพลิง (Fire-Fighting) ให้มีการใช้สารเฮลอน กรณีจำเป็นเท่านั้น ส่วนสารทดแทน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ หรือผงแป้ง
7. สารชะล้าง (Solvents) ทดแทน CFC-113 และเมธิลคลอโรฟอร์ม เช่นการทำความสะอาดด้วยของเหลวและกึ่งของเหลว ใช้ไฮโดรคาร์บอน HCFCs เพอฟลูออโรคาร์บอน และ วิธีอื่นๆที่ไม่ใช่สารชะล้าง
8. เมธิลโบรไมด์ ใช้สารทดแทนในขบวนการอบหรือพ่นในดิน ได้แก่ การใช้แสงอาทิตย์ การพ่นไอน้ำ การควบคุมทางชีวภาพ การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชไร้ดิน และสารเคมีเช่น คลอโรพิริน เมธัมโซเดียม ดาโซเมต ฯลฯ
พิธีสารมอนทรีออล
ประเทศไทยเริ่มปฏิบัติตามพันธกรณีในพิธีสารมอนทรีออล เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2532

พันธกรณีของประเทศไทยต่อพิธีสารมอนทรีอออล (Montreal Protocol)

เราทราบกันดีว่าชั้นโอโซนกำลังถูกทำลายด้วยสารประกอบสังเคราะห์จำพวก ซีเอฟซี ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ นั้น เป็นที่มาของความร่วมมือเพื่อรับผิดชอบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก ดังนั้นนานาประเทศจึงมีข้อตกลงกันเพื่อลดและเลิกใช้สารทำลายโอโซนต่างๆ ที่เรียกว่า อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยการพิทักษ์ชั้นบรรยากาศโอโซน (The Vienna Convention) ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2528 ประเทศต่างๆ ได้ลงนามการเป็นสมาชิกในเวลาต่อมาจนปัจจุบันมีสมาชิก 178 ประเทศ และพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศ ในปี พ.ศ. 2530 ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 177 ประเทศ
ประเทศไทยเริ่มปฏิบัติตามพันธกรณีในพิธีสารมอนทรีออล เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2532 ด้วยสาเหตุสำคัญ คือ
1. เพื่อแสดงความรับผิดชอบและความร่วมมือกับนานาประเทศในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมโลก
2. เพื่อป้องกันการขาดแคลนสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนที่จำเป็นใช้ในอุตสาหกรรมในระยะแรกๆ เนื่องจากเป็นผู้นำเข้า
3. เพื่อป้องกันมิให้สินค้าส่งออกของไทยที่ยังคงบรรจุหรือผลิตด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน ถูกกีดกัน
4. เพื่อให้อุตสาหกรรมของไทยที่ต้องเลิกใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนในอนาคตอันใกล้สามารถขอรับความช่วยเหลือทางเทคนิคและทางการเงินจากกองทุนพหุภาคีเพื่อการอนุวัติพิธีสารมอนทรีออล
5. การดำเนินการเลิกใช้สารฯให้เป็นไปอย่างรวดเร็วจะช่วยให้อุตสาหกรรมสามารถขยายส่วนแบ่งตลาดการค้าได้เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่ได้ตั้งข้อรังเกียจสินค้าที่มีผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม
การควบคุมโดยพิธีสารทำให้ปริมาณการผลิตและใช้สารทำลายโอโซนโดยรวมในปัจจุบันลดลงเป็นอย่างมาก และหากการควบคุมการใช้สารเป็นไปตามพิธีสารอย่างเคร่งครัดแล้ว ระดับโอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์ที่ความสูง 15-35 กิโลเมตรจะเริ่มคืนสภาพภายในประมาณ 50 ปีข้างหน้า

เราจะทำอะไรเพื่อช่วยโลกได้บ้าง

แม้จะมีสนธิสัญญาเพื่อลดและเลิกการใช้สารซีเอฟซีแล้ว แต่สารซีเอฟซียังจำเป็นต่ออุตสาหกรรมบางชนิด จึงยังมีการใช้ซีเอฟซีกันอยู่อีกต่อไป ก๊าซโอโซนก็ยังคงถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลกระทบเป็นภาวะโลกร้อนอย่างที่มนุษย์เรากำลังเผชิญอยู่ทุกวันนี้ เราในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของโลก จะสามารถช่วยลดสาร CFC ได้โดย
1. เลือกซื้อและใช้เครื่องปรับอากาศที่มีสัญลักษณ์ Non CFCs
2. หมั่นตรวจเช็กระบบแอร์รถยนต์ในอู่ที่ได้มาตรฐาน รวมหมั่นล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศบ้าน
3. ตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่งที่ปล่อยสาร CFC ที่จะออกมาทำลายชั้นโอโซนได้ ดังนั้นควรเปลี่ยนตู้เย็นที่ใช้มานานกว่า 10 ปี และไม่เปิดตู้เย็นบ่อย เพราะจะทำให้ระบบทำความเย็นทำงานหนัก
4. เลิกใช้อุปกรณ์ที่เป็นลักษณะกระป๋องสเปรย์ รวมทั้งวัสดุที่ทำจากโฟมทั้งหลาย ซึ่งมีสาร CFC เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิต และวัสดุเหล่านี้ยังย่อยสลายได้ยากอีกด้วย